ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ประเภทบุคคลธรรมดา
"Why" หลายแห่งถึงคัดเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานในช่วงที่จะตรวจสอบฯเท่านั้น จัดจ้างก่อนได้รับการแนะนำอย่างต่องเนื่อง ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคณะทำงานฯทุกท่าน ในการดำเนินการจัดการพลังงานประจำปี ทั้งเรื่องการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ,การฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เราเป็นทีมตรวจสอบฯ ที่ให้คำแนะนำทีมคณะทำงานฯ อย่างต่อเนื่องในการจัดทำระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำให้การดำเนินการให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง
(การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน) ประจำปี
โดยผู้ชำนาญการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
ติดต่อ คุณสาธิต เกียรติยศวีรกุล ได้ที่ Tel. 089-766-7218 ,Email: satit.kiatt@gmail.com
เอกสารสำหรับการกรอกข้อมูลสำหรับการเสนอราคาการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
หากท่านโหลดไฟล์เอกสารกรอกข้อมูลและการเปิดไฟล์สามารถส่งเมล์เพื่อขอรหัสเปิดไฟล์ ทางเราจะส่งรหัสกลับให้ทางเมล์โดยเร็วครับ
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๕๐
นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๕ เป็นต้นมา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.)ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่๒) ๒๕๕๐ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑
การแก้ไขพรบ. ครั้งนี้ ไม่ได้แก้ไขหรือยกเลิกเนื้อความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ ทั้งฉบับ เป็นการแก้ไขข้อความใหม่เพียงบางมาตราและเพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาใหม่บางส่วน คือได้ยกเลิกการจัดทำรายงานเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และให้ส่งรายงานการจัดการพลังงานให้ พพ. แทน ซึ่งกฎกระทรวงประกาศเมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยให้ส่งภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ก็ได้มีการออก ประกาศกฏกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการ พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 ซึ่งประเด็น สำคัญของกฎหมายที่กล่าวมา คือ ได้มีการกำหนดแนวทาง ปฏิบัติสำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องปฏิบัติตามคือ “ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่ได้รับอนุญาต ”
ประโยชน์ที่จะได้รับ
- บริษัทจะได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๕๐
- พัฒนาระบบการจัดการพลังงานผ่านกระบวนการ ตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบและรับรองจากภายนอก
- ผลการตรวจรับรองการจัดการพลังงานที่ชัดเจน แม่นยำ โดยใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-
การ กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ในองค์กรได้มีส่วนร่วมในระบบการจัดการพลังงาน
-
ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม
-
ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ ที่เป็นประโยชน์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงาน ทั้งในเชิงเทคนิคและระบบการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานในองค์กร
พิเศษฟรี ฝึกอบรมอนุรักษ์พลังงาน 1 รุ่น 3 ชั่วโมง ประจำปี

ปี ค.ศ.2023 ยินดีให้คำแนะนำ "ฟรี"
การจัดทำระบบการจัดการพลังงานตามกฎกระทรวง 8 ขั้นตอน
เพื่อความสอดคล้องตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวง
ระบบการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน
ทำไม การจัดการพลังงาน เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พนักงานไม่มีส่วนร่วม ผลที่ได้ไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากนัก ทำไมไม่มีรูปแบบที่สนุกสนานโดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มีเสียงหัวเราะ
อาจเป็นเพราะ คณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน มีหน้าที่ภาระงานประจำ แต่ที่สำคัญอาจขาดผู้คอยให้คำแนะนำในการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน ทางเราสามารถช่วยแบ่งเบาภาระให้ท่านได้ในการดำเนิน การจัดทำระบบการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน ดังนี้
1.การแต่งตั้งคณะทำงาน
2.การประเมินสถานะภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น
3.การกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน
4.การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน
5.กำหนดเป้าหมายและและอนุรักษ์พลังงาน ,กำหนดหัวข้อการฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
6.การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
7.การแต่งตั้งผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร
8.การทบทวนและวิเคราะห์แก้ไขข้อบกพร่อง
ซึ่งจะสามารถลดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และมีการพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็สามารถจัดทำรายงานการจัดการพลังงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนด
เราออกแบบทางเลือกใหม่ในการให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานและระบบการจัดการพลังงาน ภายใต้ พรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๐) ที่มีผลในเชิงบวกต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร ฝ่ายช่าง รวมถึงพนักงานทุกคน โดยมุ่งเน้นที่การให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพคุ้มราคา และให้ก้าวข้ามการจ้างที่ปรึกษาการจัดการพลังงานแบบดั้งเดิมที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง